หุ่นยนต์คุณหมอพระราชทาน (พ.ศ. 2497) หนึ่งในพระอัจฉริยภาพของในหลวง ร.๙

หุ่นยนต์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สำคัญอย่างยิ่งและเป็นมิติใหม่แห่งอนาคต ต่อไปภายหน้าหุ่นยนต์จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ จุดเด่นของหุ่นยนต์คือสามารถทำงานในพื้นที่มนุษย์เข้าไปไม่ได้ เช่น ในที่ที่มีความร้อนสูง หรือมีความเย็นจัด มนุษย์ไม่สามารถเข้าไปได้ แต่หุ่นยนต์เข้าไปได้ รวมทั้งการทำงานใต้น้ำ หรือในอวกาศ หรือในที่ที่มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง

3

 

ประโยชน์ของหุ่นยนต์มีอีกมากมาย
เพราะหุ่นยนต์ทำงานซ้ำๆ กันได้โดยไม่ผิดพลาด ไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อยหรือง่วงนอน และสามารถสร้างความสนใจได้ ประการสุดท้ายคือ หุ่นยนต์ สามารถทำงานตามคำสั่งได้อย่างดียิ่ง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้เป็นอย่างดีว่า หุ่นยนต์ก็คือ สุดยอดของ “ไอที” นั่นเอง

4

 

พระราชประสงค์
พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะปลูกฝังให้สร้าง “หุ่นยนต์” ขึ้นในประเทศไทย เพื่อจะได้นำไปใช้ในกิจการต่างๆ ทั้งในการสื่อสาร การเรียนการสอน การอุตสาหกรรม การแพทย์ ฯลฯ ซึ่งสถานที่ ที่จะปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีที่สุดคือ “สถานศึกษา”

k4312938-49

 

เมื่อปี พ.ศ. 2497
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดงานศิลปหัตถกรรมนักเรียน ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีที่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เพื่อให้นักเรียนได้แสดงผลงาน ความรู้ความสามารถ และได้ช่วยกันพัฒนาความรู้ ศิลปวิทยา และศิลปหัตถกรรมให้เจริญก้าวหน้า

anand-%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b9%87%e0%b8%87-%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%96

 

เมื่อพระองค์ทรงเปิดงานเรียบร้อยแล้ว ได้ทอดพระเนตรผลงานของนักเรียน นักศึกษา ด้วยความสนพระทัย และที่ทรงสนพระทัยมาก คือ รถยนต์ขนาดใหญ่บังคับด้วยวิทยุ ที่สามารถใช้งานได้จริงๆ ซึ่งเป็นผลงานของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ (ปัจจุบันคือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเทคนิคกรุงเทพฯ)

2

 

พระองค์จึงมีพระราชกระแสรับสั่งถาม อาจารย์สนั่น สุมิตร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯในขณะนั้น ว่า “ทำหุ่นยนต์ที่เดินได้ ได้ไหม?”

ahr0cdovl3azlmlzyw5vb2suy29tl2d1lzavdwkvmc8xoty3lzq2mdjfxze4mtiymda2mdk1ota0lmpwzw

 

อาจารย์สนั่น จึงกราบบังคมทูลตอบไปว่า “ได้ พะย่ะค่ะ”

รับสั่งถามต่อไปว่า “จะต้องใช้เงินเท่าใด ?” อาจารย์ สนั่น สุมิตร กราบบังคมทูลว่า “ประมาณ 20,000 บาท พะย่ะค่ะ”

ต่อมาไม่นานนัก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์แก่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ จำนวน 20,000 บาท เพื่อสร้างหุ่นยนต์ตามพระราชประสงค์

3580429_big

 

การสร้างหุ่นยนต์คุณหมอ
อาจารย์สนั่น สุมิตร ได้ปรึกษากับอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ หัวหน้าแผนกวิทยุ วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้สร้าง รถยนต์บังคับด้วยวิทยุ ว่าจะทำอย่างไรจึงจะสร้างหุ่นยนต์ได้ตามพระราชประสงค์

อาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ ก็รับรองว่าสร้างได้แน่นอน จึงได้เริ่มลงมือสร้างทันที โดยมีอาจารย์สวัสดิ์ หงษ์พร้อมญาติ เป็นแม่งาน

kan85

การสร้างเริ่มจากใช้เลื่อยตัดอะลูมิเนียมให้เป็นตัวหุ่นยนต์และแขนขาหุ่นยนต์ ส่วนหัว หน้า และมือ ใช้วิธีปั้นและทาสี ซึ่งทำได้เหมือนคนมาก

เครื่องรับส่งและเครื่องบังคับวิทยุจะอยู่ที่ท้องของหุ่น แล้วใส่แบตเตอรี่และสายพานที่เท้าหุ่น ทำให้หุ่นเดินได้

เครื่องส่งและอุปกรณ์ที่จะบังคับให้หุ่นเดิน ยกมือไหว้ พูด ฟัง โต้ตอบ และทำงานได้อีกหลายอย่างจะอยู่นอกตัวหุ่น หุ่นจะเดินได้ด้วยการบังคับจากภายนอก

 

เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงนำมาทดลองใช้งานดู เมื่อเห็นว่าใช้ได้ อาจารย์สนั่นจึงได้นำความกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทว่า หุ่นยนต์ได้สร้างเสร็จแล้วตามพระราชประสงค์ โดยที่ส่วนประกอบทุกชิ้นสร้างในแผนกวิทยุ ของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ

6

 

ทรงรับสั่งให้นำหุ่นยนต์คุณหมอไปแสดงครั้งแรกที่ใด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชกระแสรับสั่งให้นำหุ่นยนต์คุณหมอไปแสดงในงานกาชาด ที่สถานเสาวภา ปรากฏว่า หุ่นยนต์ คุณหมอพระราชทานช่วยประชาสัมพันธ์งานได้อย่างดียิ่ง ทั้งยังให้คำแนะนำในเรื่องการรักษาสุขภาพอนามัยแก่ประชาชนที่มาชมงาน การแสดงหุ่นยนต์ในงานกาชาดครั้งนั้น นับว่าประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง

 

หุ่นยนต์คุณหมอ พระราชทาน ทำอะไรได้บ้าง
การสร้างหุ่นยนต์ในครั้งนั้น ทำให้ทราบว่า มีคนอีกจำนวนมากที่ต้องการที่พึ่ง โดยวินิจฉัยจากการที่ผู้คนมาถามปัญหากับหุ่นยนต์คุณหมอ ถ้ามีหุ่นยนต์คุณหมอคอยตอบปัญหา ก็จะช่วยประชาชนที่มีปัญหาทางจิตได้มาก เพราะคนไข้ไม่ต้องอายหมอ

5

 

พระราชทานหุ่นคุณหมอไว้ใช้เพื่อการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน หุ่นยนต์คุณหมอแก่วิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ สำหรับไว้ใช้สอนนักศึกษา ทำให้นักศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคกรุงเทพฯ ได้เรียนเกี่ยวกับการ โทรคมนาคม คือ การติดต่อสื่อสารทางไกล เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีอัตโนมัติจากหุ่นยนต์

หุ่นยนต์คุณหมอเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกในโลก ที่มีรูปร่างคล้ายคนขนาดเท่าคนจริง และแต่งกายแบบคุณหมอ

ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่าในที่ที่ติดเชื้อ คุณหมอที่เป็นคนจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ถ้าใช้หุ่นยนต์คุณหมอจะไม่มีอันตราย และคนย่อมต้องการให้คุณหมอที่คล้ายคนรักษามากกว่า คุณหมอในรูปลักษณ์อื่นๆ

b36p216

 

คุณสมบัติอย่างหนึ่งของหุ่นยนต์คุณหมอคือ ไม่ติดเชื้อ จึงไม่ต้องกลัวเชื้อโรค ถึงแม้จะมีเชื้อโรคติดมาตามเสื้อผ้า ก็สามารถที่จะใช้รังสีฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ ก่อนออกจากตู้ปฏิบัติการ

ในปี พ.ศ. 2498 คงจะไม่มีใครคาดคิดว่า ต่อไปในวันข้างหน้าจะมีโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ซึ่งคุณหมอที่เข้าไปรักษาคนไข้อาจ ติดเชื้อโรคร้ายจากคนไข้ได้ เช่น คุณหมอที่เข้าไปผ่าตัดผู้ที่ป่วยเป็นโรค “เอดส์” ที่ประสบอุบัติเหตุ คุณหมอจะไม่มีโอกาสตรวจเลือดก่อนได้เลย และถ้าเลือดของผู้ป่วยเข้าไปใน ตัวของคุณหมอ คุณหมอก็จะติดเชื้อโรคร้ายได้

o-influenza-virus-facebook

 

หากใช้หุ่นยนต์คุณหมอผ่าตัด หรือรักษาคนไข้ หุ่นยนต์คุณหมอจะไม่ติดเชื้อโรคอย่างแน่นอน นับเป็นคุณสมบัติเพียงข้อเดียว ในจำนวนอีกหลายข้อ ที่จะแสดงให้เห็นว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริกว้างไกลเพียงใด

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%94%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%aa

 

เหตุใดพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชประสงค์ให้สร้างหุ่นยนต์คุณหมอ
เพราะพระองค์ทรงห่วงใยคุณหมอ ทั้งที่จะต้องเผชิญกับเชื้อโรคอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง เพราะคุณหมอต้องมีจรรยาบรรณ เมื่อพบคนเจ็บป่วยก็ต้องรักษา แม้จะทราบว่าตนเองอาจได้รับอันตราย แต่ถ้ามีหุ่นยนต์คุณหมอช่วยรักษาในที่ที่มีการติดเชื้อ คุณหมอที่เป็นคนก็จะปลอดภัย และนี่คือพระราชดำริที่มีพระอัจฉริยภาพอย่างยิ่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชของชาวไทย

 

เครดิตข้อมูล หนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฉบับกาญจนาภิเษก

Back to top button